จังหวัดพะเยา
คำขวัญ
ประจำจังหวัด
กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง
งามลือเลื่องดอยบุษราคัม
พะเยามีเนื้อที่ประมาณ 6,335 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ 2
กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน
อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ กิ่งอำเภอภูซาง กิ่งอำเภอกามยาว
พะเยามีเนื้อที่ประมาณ 6,335 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ 2
กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน
อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ กิ่งอำเภอภูซาง กิ่งอำเภอกามยาว
ประวัติเมืองพะเยา
พะเยาเป็นเมืองประวัติศาสตร์เดิมมีชื่อว่า"เมืองภูกามยาวหรือพยาว"เคยมีเอกราชสมบูรณ์มีกษัตริย์ปกครองสืบราชสันตติวงศ์มาปรากฎตามตำนานเมืองพะเยา
ดังนี้พุทธศักราช ๑๖๐๒ (จุลศักราช๔๒๑) พ่อขุนเงินหรือลาวเงินกษัตริย์ผู้ครองนครเงินยางเชียงแสนได้ให้ขุนจอมธรรมโอรสองค์ท ให้ปกครองเมืองภูกามยาว
ซึ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้ขุนจอมธรรมครองเมืองภูกามยาวได้๒๔
ปี ก็สิ้นพระชนม์ขุนเจื่องโอรสได้ขึ้นครองราชย์แทนใน
ขณะครองเมืองได้รวบรวมลี้พลไปช่วยเมืองนครเงินยาง
ของขุนชินผู้เป็นลุงจนรอดพ้นจากการรุกรานของแกวหรือญวนได้สำเร็จ
ขุนชินทรงโสมนัสยิ่งนักจึงยกธิดาชื่อ พระนางอั๊วคำ สอนให้และสละราชสมบัติ
ปีพุทธศักราช ๒๔๕๗ ได้ยุบเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมืองแล้วใช้ตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมือง
แล้วใช้ตำแหน่งนายอำเภอแทนพะเยาจึงมีฐานะเป็นอำเภอพะเยาต่อมาเมื่อวันที่๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ พะเยาจึงได้รับการยกฐานะจากอำเภอพะเยา
ขึ้นเป็นจังหวัดพะเยา
2. สมัยกรุงศรีอยุธยา | ||||
สมัยพระเจ้าติโลกราชครองอาณาจักรลานนาไทย (พุทธศักราช 1985-2025)
แผ่อำนาจลงไปทางใต้ปราบปรามเมืองสองแคว เมืองเชลียง
เมืองสุโขทัยตลอดถึงเมืองกำแพงเพชร อยู่ในอำนาจต่อมาในปีพุทธศักราช 1994 - 2030
พระยายุทิศเจียงเจ้าเมืองสองแควซึ่งสวามิภักดิ์พระเจ้าติโลกราชได้มาครองเมืองพะเยา
ทรงสร้างพระเจดีย์วัดพระยาร่วง (วัดบุญนาค)
ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเรียกว่า “หลวงพ่อนาค”
ทรงก่อสร้างวิหารวัดป่าแดง หลวงพ่อดอนชัย
และอัญเชิญพระพุทธปฏิมาแก่นจันทร์แดงจากวัดปทุมมาราม (หนองบัว)
มาประดิษฐานไว้ด้วย ต่อมาพระเจ้าติโลกราชสั่งให้นำไปประดิษฐานไว้ ณ วัดอโศการาม (วัดป่าแดงหลวง) เชียงใหม่
นอกนั้นพระยายุทิศเจียงยังเอาช่างปั้นถ้วยชาม เครื่องสังคโลก อันเป็นศิลปของกรุงสุโขทัย
ไปเผยแพร่การปั้นถ้วยชามสังคโลกด้วย
ตั้งแต่นั้นมาเมืองภูกามยาวก็รวมอยู่กับอาณาจักรลานนาไทยมาโดยตลอด
จากหลักฐานศิลาจารึกต่างๆ
ปรากฏว่าเมื่อปีพุทธศักราช 2034 พระยาเมืองยี่ครองเมืองพะยา
พระยอดเชียงรายครองเมืองเชียงใหม่
กับตายายสองผัวเมียสร้างพระเจ้าตนหลวงเริ่มสร้างได้ 5 วัน
พระยาเมืองยี่ถึงแก่พิราลัยต่อมาพระยอดเชียงรายก็สิ้นพระชนม์ในปีเดียวกัน
3. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
พุทธศักราช 2330
เจ้าเมืองอังวะสั่งให้หวุ่นยีมหาไชยสุระยกทัพมาทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ
ผ่านฝาง เชียงราย เชียงแสน และพะเยาด้วย
ผู้คนกลัวแตกตื่นอพยพไปอยู่ลำปางทำให้เมืองพะเยาร้างไปเป็นเวลาถึง 56
ปี
พุทธศักราช
2386
พระยานครลำปางน้อยอินทร์กับพระยาอุปราชมหาวงศ์เมืองเชียงใหม่ลงไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทูลขอตั้งเมืองเชียงรายเป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม่ และตั้งเมืองงาว
เมืองพะเยาเป็นเมืองขึ้นของนครลำปาง ต่อมาพระองค์ทรงโปรกเกล้าฯ
แต่งตั้งให้นายพุทธวงศ์ น้องคนที่ 1 ของพระยานครอินทร์เป็นพระยาประเทศอุดรทิศ
ผู้ครองเมืองพะเยา ตั้งนายน้อย มหายศ และตั้งนายแก้ว มานุตตม์
น้องคนที่ 2 และ 3 เป็นพระยาอุปราชเมืองพะเยา และพระยาราชวงศ์เมืองพะเยาตามลำดับ
ตั้งนายขัติยะ
บุตรพระยาประเทศอุดรทิศเป็นพระยาเมืองแก้ว และตั้งนายน้อย ขัติยะ
บุตรราชวงศ์หมู่ส่าเป็นพระยาราชบุตรเมืองพะเยา
ผู้ครองเมืองพะเยาทุกคนจึงได้รับพระราชทานนามว่า “พระยาประเทศอุดรทิศ”
แต่ประชาชนมักจะเรียกตามนามเดิม เช่นเจ้าหลวงวงศ์
-พุทธศักราช 2391 พระยาอุปราช
(น้อย มหายศ) รับสัญญาบัตรขึ้นครองเมืองพะเยา จนถึงจุลศักราช 1217 ( -พุทธศักราช 2398) ก็ถึงอนิจกรรม
-พุทธศักราช 2398 พระยาราชวงศ์เมืองพะเยา
(เจ้าบุรีรัตนะหรือเจ้าแก้ว ขัติยะ)
ได้รับสัญญาบัตรเป็นเจ้าเมืองพะเยา ครองเมืองได้ 6 ปี
ก็ถึงอนิจกรรม
- พุทธศักราช 2403 เจ้าหอหน้าอินทะชมภู
รับสัญญาบัตรเป็นผู้ครองเมืองพะเยาได้ 11 ปี ก็ถึงแก่พิราลัยเมื่อปีพุทธศักราช
2413
-พุทธศักราช 2418 เจ้าหลวงอริยะเป็นเจ้าเมืองพะเยาถึงปีพุทธศักราช 2437
ถึงแก่อนิจกรรม เจ้าไชยวงศ์เป็นผู้ครองเมืองพะเยาต่อมาถึง 9
ปี
-พุทธศักราช 2445 เกิดจราจลขึ้นทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ
โจรผู้ลี้ภัยเงี้ยวเข้ายึดเมืองพะเยา ปล้นเอาทรัพย์สินทางราชการ ประชาชนวัดวาอาราม
ข้อมูลการเดินทาง
รถยนต์
สามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง เส้นทางที่ 1 ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย)
ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1
ที่นครสวรรค์ ผ่านอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ตาก
ผ่านอำเภอเถิน อำเภอสบปราบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง
เข้าสู่ตัวเมืองพะเยา ระยะทาง 969 กิโลเมตร เส้นทางที่ 2 ใข้ทางหลวงหมายเลข
32 (สายเอเซีย) ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 117 จนถึงพิษณุโลก
แยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 12 ไปจนถึงสุโขทัย เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 101
ผ่านอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 103 ผ่านอำเภอร้องกวาง
เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านอำเภองาว เข้าสู่ตัวเมืองพะเยา ระยะทาง 782
กิโลเมตร
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพะเยา
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น