ผู้ติดตาม

วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บทความการศึกษา เรื่องภาวะผู้นำในการบริหารการศึกษา

บทความการศึกษา เรื่องภาวะผู้นำในการบริหารการศึกษา


ประชุม  โพธิกุล
  สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา
ภาวะผู้นำ  เป็นขบวนการสร้างสิ่งเร้าขบวนการพัฒนาและการทำงานกับคนในองค์การ  เป็นขวนการมุ่งคน การมุ่งสร้างแรงจูงใจให้กับคน  การใช้มนุษย์สัมพันธ์หรือการปฏิสัมพันธ์ในองค์การการสื่อสารระหว่างบุคคล  การสร้างบรรยากาศใน
องค์การ  ความขัดแย้งระหว่างบุคคล  ความเจริญและการพัฒนานอกเหนือจากนั้นก็คือปัจจัยของมนุษย์ที่ส่งเสริมการผลิต ภาวะผู้นำจะเกิดขึ้นในการปฏิบัติการขององค์การ   เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจในจุดหมาย  การตัดสินใจเลือกทางเลือก
ใหม่  การสนับสนุนส่งเสริมการบริการการศึกษาให้มีคุณภาพมากขึ้น  การนำหลักการเปลี่ยนแปลงมาใช้ในองค์การและปัจจัยต่าง  ๆ  ซึ่งสร้างความพึงพอใจหรือบางครั้งมีผลในทางตรงกันข้าม  คือสร้างความไม่พึงพอใจของมนุษย์ในองค์การ
                                ภาวะผู้นำทางการศึกษากับผู้บริหารการศึกษาจะต้องเหมือนกัน          หมายความว่าผู้บริหารการศึกษาจะต้องมีคุณสมบัติของภาวะผู้นำนั้นเอง  การเป็นผู้บริหารสมัยใหม่ต้องการความเป็นผู้นำในการบริหารงานของตน      จึงจะกล่าวได้ว่าเป็นผู้บริหารสมัยใหม่  ทั้งนี้  เพราะผู้บริหารสมัยใหม่ตระหนักดีว่ามนุษย์มีความแตกต่างกันตามลำดับขั้นของความต้องการจำเป็น  ซึ่งต่างกับการทำงานกับเครื่องกลหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กฎเกณฑ์ตายตัวได้ในการสั่งให้เครื่องทำงาน แต่การสั่งให้มนุษย์ทำ
งานด้วยกฎเกณฑ์ที่ตายตัวอาจได้ผลมากบ้างน้อยบ้าง  หรือไม่ได้ผลเอาเสียเลยก็เป็นได้  ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องใช้ศาสตร์  คือความรู้ในเรื่องระเบียบ  ทฤษฎีต่าง  ๆ  และศิลปในการบริหารทฤษฎีจะเป็นเครื่องมือและเครื่องช่วยนำทางสำหรับผู้บริหาร  ถ้าไม่มีทฤษฎีการบริหารงานจะประสบความสำเร็จก็ด้วยเหตุบังเอิญเท่านัน  ส่วนศิลปะนั้นจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถนำเอาทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติได้  ภาวะผู้นำหมายถึงอะไร  ภาวะผู้นำมีอยู่หลายความหมาย  อาจจะเนื่องมาจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน  ประการแรก  ภาวะผู้นำมีขอบเขตกว้างขวางและเกี่ยวกับตัวแปรต่าง ๆ  มากมาย  ประการที่สอง  ภาวะผู้นำเป็นผลงานของสหวิทยากร  สหสถาบันและ
สหอาชีพ  ฉะนั้นวิธีการมองภาวะผู้นำของแต่ละวิชา  สถาบันและอาชีพจึงแตกต่างกันออกไป  ประการสุดท้าย  องค์ความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำยังถือเป็นข้อยุติไม่ได้  เรื่องจากผลการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ยังขัดแงกันอยู่มาก  แต่อย่างไรก็ตาม  จะได้นำเสนอทัศนะของนักวิชาการบางท่านเท่านั้น
                                ตามความเห็นของพีดเลอร์นั้น  ภาวะผู้นำหมายถึงความสัมพันธ์ส่วนบุคคลซึ่งมีบุคคลหนึ่งคอยอำนวยการ
ประสานงานและดูแลควบคุมคนอื่น  ๆ  ในการปฏิบัติงานร่วมกัน  ต่อมาในปี  ค.ศ.  1971  พีดเลอร์ได้ให้ความหมายที่เฉพาะเจาะจงซึ่งมองเห็นได้ในทางปฏิบัติไว้ว่า  
การที่ผู้นำมีอำนาจเหนือบุคคลอื่น  ๆ  อำนาจเหนือบุคคลอื่น  ๆ  นี้จะช่วยให้ผู้นำสามารถปฏิบัติงานซึ่งเขาไม่สามารถปฏิบัติคนเดียวได้เป็นผลสำเร็จ  อย่างไรก็ดี  อำนาจเหนือบุคคลอื่น ๆ  ของผู้นำนี้  รวมไปถึงการหามาตรการที่จะให้ผู้ตามได้ยอมรับหรืออย่างน้อยที่สุดก็เต็มใจที่จะปฏิบัติตามความประสงค์ของผู้นำอยู่ด้วย  ชมิดต์  ได้ให้ความหมายของภาวะ
ผู้นำไว้อย่างกว้าง  ๆ  ว่า  หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนคนหนึ่ง  (ผู้นำ)  กับกลุ่ม  (ผู้ตาม)  และความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้เกิดจาก
การที่ผู้นำและกลุ่มผู้ตามมีผลประโยชน์ร่วมกันและประพฤติตนเอย่างภายใต้การอำนวยการหรือการกำหนดแนวทางผู้นำ  จะเห็นได้ว่าความหมายของภาวะผู้นำของชมิดต์  มีลักษณะคล้ายคลึงกันที่ให้ไว้โดยพีดเลอร์     จากการพิจารณาดูความหมายของภาวะผู้นำที่นักวิชาการทั้งหลายที่ให้ไว้ข้างต้นนั้น  ผู้เขียนขอสรุปว่า  ภาวะผู้นำหมายถึงการที่บุคคลคนหนึ่ง  (ผู้นำ)  พยายามที่จะใช้กำลังสมอง  กำลังกายและกำลังใจเพื่อจูงใจหรือดลใจเช่นนั้น  จะต้องไม่เป็นการบังคับตลอดจนต้องได้รับความยินยอมจากผู้ตามด้วย
สิ่งที่จะพิจารณาความเป็นผู้นำ
                                1.  ผู้นำมีผู้ใต้บังคับบัญชา  ไม่ใช่ผู้บริหารทั้งหมดที่เป็นผู้นำ  ผู้บริหารมีผู้ใต้บังคับบัญชาที่ต้องให้การนิเทศ
แต่ถ้าบุคคลเหล่านี้ไม่เต็มใจยอมรับหรือปฏิบัติตามการนิเทศแสดงว่า  ผู้บริหารมิได้เป็นผู้นำ  ผู้ใต้บังคับบัญชา  อาจปฏิบัติตามเพราะเกิดความกลัวก็ได้  แต่มิใช่การปฏิบัติตามเพื่อสนองตอบภาวะผู้นำในลักษณะที่เหมือนกันนั้น  ไม่ใช่ผู้นำทุกคนที่เป็นผู้บริหาร 
ผู้นำอาจไม่ใช่ผู้บริหารก็ได้  ตัวอย่างเช่น  ผู้นำที่ไม่เป็นทางการในกลุ่มการทำงาน  เป็นผู้นำมีภาวะผู้นำแต่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร
                                2.  ผู้นำต้องเป็นผู้ตัดสินใจ  Zaleznik  ได้ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของความคาดหวังของพฤติกรรมของผู้
บริหารกับผู้นำ  ผู้บริหารถูกคาดหวังให้เป็นผู้ตัดสินใจและผู้แก้ปัญหา  บรรดาผู้บริหารทั้งหลายใช้ความคิดในการวิเคราะห์ในขบวนการที่จะนำให้เป้าหมายขององค์การประสบผลสำเร็จ  ผู้นำถูกค่าหวังว่าต้องเป็นบุคคลที่น่านับถือ  มีทรรศนะกว้างไกล จะทำให้ผู้
ร่วมงานมีความหวังและมีความคาดหวังสูง
                                3.  ผู้นำต้องรู้ใจลูกน้อย  ทั้งผู้บริหารและผู้นำต้องรู้ความต้องการขององค์การและความต้องการของสมาชิก
อย่างไรก็ตาม  ผู้บริหารต้องปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์การในขณะที่ผู้นำต้องรู้ความต้องการของสมาชิก       ผู้บริหารไม่สามารถจะเป็นผู้บริหารที่ดีได้  ถ้าไม่ทราบเป้าหมายขององค์การ  ผู้นำก็ไม่สามารถเป็นผู้นำที่ดีได้ถ้าไม่ทราบความต้องการและ
ความพึงพอใจของสมาชิกของตนเองได้

แบบจำลองขบวนการภาวะผู้นำ

                                ภาวะผู้นำเป็นภาวะการทางสังคมที่สลับซับซ้อน  ซึ่งมีผลกระทบต่อบุคคลและปัจจัยต่าง ๆ  ในองค์การรวมถึงสิ่งต่อไปนี้
                                1.  คุณลักษณะต่าง  ๆ  ส่วนบุคคลของผู้นำ
                                2.  พฤติกรรมของผู้นำ
                                3.  ปัจจัยสถานะการณ์ต่าง  ๆ  เช่น  ผู้ใต้บังคับบัญชา  งานและการปฏิบัติงานในองค์การ
                                แบบจำลองขบวนการภาวะผู้นำในภาพนี้ชี้ให้เห็นปัจจัยต่าง  ๆ  ซึ่งส่งผลให้ภาวะผู้นำมีประสิทธิภาพ  ซึ่งได
้อธิบายว่าขบวนการต่าง  ๆ  ซึ่งมีคุณลักษณะต่าง ๆ  ส่วนตัวของผู้นำและปัจจัยต่าง  ๆ  ในสิ่งแวดล้อม  ซึ่งมีผลกระทบต่อการเลือกพฤติกรรมผู้นำ  อิทธิผลต่าง  ๆ  ของกลุ่มสมาชิกในการปฏิบัติงานที่ทำให้ผู้นำมีประสิทธิภาพ  แบบจำลองประกอบด้วยสิ่งต่าง  ๆ  ดังต่อไปนี้

แบบจำลองของภาวะผู้นำแปรเปลี่ยนไปตามปัจจัยต่อไปนี้
                                1.  คุณลักษณะส่วนบุคคล  (Personal  trait)  ผู้บริหารมีคุณลักษณะเฉพาะ  ทัศนคติแรงจูงใจและบุคลิก
ภาพ  คุณลักษณะเหล่านี้มีอิทธิผลต่อพฤติกรรม  ต่อผู้นำ  ตัวอย่าง  ผู้บริหารผู้ที่เชื่อมั่นบุคคลอื่นย่อมปรึกษาหารือกับผู้ใต้บังคับ
บัญชามากกว่าผู้บริหารที่ไม่เชื่อมั่นผู้ใต้บังคับบัญชา
                                2.  พฤติกรรมผู้นำ  (Leader  Behavior)  ผู้บริหารจะแสดงรูปแบบพฤติกรรมในการบริหารบุคคล 
พฤติกรรมผู้นำเหล่านี้เป็นปฏิกริยาจากคุณลักษณะส่วนบุคคลของเขา  และความต้องการของสถานการณ์  พฤติกรรมต่าง ๆ  เหล่านี้ก็คือ
                                                2.1  การสั่งการ
                                                2.2  การสนับสนุน
                                                2.3  การมีส่วนร่วม
                                                2.4  พฤติกรรมมุ่งผลสัมฤทธิ์
                                3.  ปัจจัยสถานการณ์  (Situation  Factors)  ผู้บริหารไม่ได้ทำงานอยู่ในสุญญากาศ  สิ่งแวดล้อมมีอิทธิผล
ต่อพฤติกรรมของเขา  ปัจจัยสถานการณ์  ปัจจัยต่าง  ๆ  ที่สำคัญของสถานการณ์
                                                3.1  กลุ่มงาน
                                                3.2  สมาชิกของกลุ่ม
                                                3.3  การปฏิบัติงานในองค์การ  เป็นอำนาจที่เป็นทางการที่เป็นที่ยอมรับ
                                4.  ความกลมกลืนของภาวะผู้นำ  (Leadership  match)  เมื่อผู้บริหารได้ทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
เหมือนผู้นำ  ผู้บริหารจำเป็นต้องใช้พฤติกรรมผู้นำ ซึ่งเหมาะสมกับคุณลักษณะประจำตัวของเขาและความต้องการตามสถานการณ์  ถ้าไม่กลมกลืนกันก็ย่อมไม่มีประสิทธิภาพ  ภาวะผู้นำจะกลมกลืนกันจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ
                                                4.1  เลือกสถานการณ์ของภาวะผู้นำซึ่งเหมาะสมกับคุณลักษณะส่วนตัวของผู้บริหารและพฤติกรรมของผู้นำ
                                                4.2  ปรับปัจจัยต่าง  ๆ  ของสถานการณ์ให้เหมาะสมกับผู้บริหาร  คุณลักษณะประจำตัวและพฤติกรรมของผู้บริหาร
                                                4.3  เพิ่มแบบภาวะผู้นำให้มากให้กลมกลืนกับสถานการณ์ที่แปรเปลี่ยนไป
                                5.  ประสิทธิผลของภาวะผู้นำ  ประสิทธิผลของภาวะผู้นำอาจวัดได้โดยดูระดับซึ่งผู้บริหารบรรลุถึงเป้าประสงค์ขององค์การและผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับการสนองตอบความต้องการ
                                รูปแบบจำลองนี้เป็นมโนทัศน์ของขบวนการผู้นำในองค์การและเป็นการพิจารณาถึงประสิทธิผลของภาวะผู้นำหลายทฤษฎี  ภาวะผู้นำได้มีตัวแปรเปลี่ยนไป  ตัวอย่างเช่น  ทฤษฎีคุณลักษณะของผู้นำสัมพันธ์กับคุณลักษณะของบุคคลที่เป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพทฤษฎีสถานการณ์ศึกษาคุณลักษณะของบุคคล  พฤติกรรมของผู้นำและปัจจัยสถานการณ์

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

วิเคาระห์จากการดูภาพยนต์

                                             จากการที่กระผมได้ชมภาพยนต์เรื่องนี้ ทำให้ผมได้เรียนรู้อะไรอีกมากมายที่ยังไม่เคยรู้มาก่อนเลยครับ ซึ่งเรื่องต่างๆเหล่านั้นสามารถนำมาปรับใช้และปรับให้เข้ากับการดำเนินชีวิตประจำวันของเราในด้านต่างๆได้มากมาย ตัวอย่างเช่น''
1.ได้รู้ถึงคำว่าสามัคคีว่าความสามัคคีนั้นเกิดขึ้นได้ถ้าทุกๆคนช่วยกัน  เพราะต้องเกิดจากความร่วมมือของบุคคลหลายฝ่าย  บุคคลเพียงคนเดียวไม่สามารถทำให้เกิดคำๆนี้ได้  ทำให้เกิดสิ่งดีๆตามมามากมาย ทำให้เกิดแรงบรรดาลใจที่จะทำเรื่องอื่นๆต่อไปในชีวิต การที่จะทำอะไรก็จะประสบผลสำเร็จ บรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้ เป็นต้น
2.ได้เรียนรู้ถึงทักษะหรือเทคนิคการสอนของคุณครูว่ามีวิธีการสอนอย่างไรให้นักเรียนจากที่ไม่สนใจ กลับมาสนใจในการเรียน ซึ่งในฐานะที่กระผมเรียนครูด้วยผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะสามารถที่จะนำไปใช้ในสถานการณ์จริงเวลาไปสอนนักเรียนต่อไป
3.ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ว่าในแต่ละเรื่องควรมีเคล็ดลับในการการปฎิบัติว่าเรื่องนั้นควรที่จะทำอะไรต่อไป เรื่องนั้นมีปัญหาที่มีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน ก็ว่ากันไปตามความรุนแรง''
4.การเรียนรู้ว่าวิธีการสร้างบรรยากาศการเรียนที่ีนั้ควรทำแบบใด ควรที่จะให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น ในการเรียนการสอนในแต่ละวิชา ความคิดของทุกคนไม่มีคำว่าผิด เพียงแค่พูดออกมา การเรียนการสอนไม่ควรตึงเครียดมากเกินไป เพราะจะทำให้เด็กไม่สนใจในการเรียน อาจจะทำให้เกิดปํญหาต่างๆตามมามากมาย''
5.การเรียนรุ้วิธีการดำเนินงานอย่างไรให้ประสบผลสำเร็จและสามารถที่จะประสานงานให้เข้ากับคนอื่นๆได้โดยเกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีต่อไป''
                                          ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ถ้วนแต่เป็นประโยชน์ในด้านที่ดี ซึงสิ่งที่ก่อให้เกิดผลดีควรที่จะนำไปปฎิบัติอย่างยิ่ง ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ย่อยๆอื่นๆตามมาอีกมากมายในอนาคตต่อไป''

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพะเยา ชื่อนายพีรพงศ์ ริยาพันธ์ เลขที่ 20 ห้อง 4/3

จังหวัดพะเยา

คำขวัญ ประจำจังหวัด

กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม
พะเยามีเนื้อที่ประมาณ 6,335 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ กิ่งอำเภอภูซาง กิ่งอำเภอกามยาว
พะเยามีเนื้อที่ประมาณ 6,335 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ กิ่งอำเภอภูซาง กิ่งอำเภอกามยาว

ประวัติเมืองพะเยา

พะเยาเป็นเมืองประวัติศาสตร์เดิมมีชื่อว่า"เมืองภูกามยาวหรือพยาว"เคยมีเอกราชสมบูรณ์มีกษัตริย์ปกครองสืบราชสันตติวงศ์มาปรากฎตามตำนานเมืองพะเยา            
ดังนี้พุทธศักราช ๑๖๐๒ (จุลศักราช๔๒๑) พ่อขุนเงินหรือลาวเงินกษัตริย์ผู้ครองนครเงินยางเชียงแสนได้ให้ขุนจอมธรรมโอรสองค์ท ให้ปกครองเมืองภูกามยาว             ซึ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้ขุนจอมธรรมครองเมืองภูกามยาวได้๒๔ ปี ก็สิ้นพระชนม์ขุนเจื่องโอรสได้ขึ้นครองราชย์แทนใน  ขณะครองเมืองได้รวบรวมลี้พลไปช่วยเมืองนครเงินยาง ของขุนชินผู้เป็นลุงจนรอดพ้นจากการรุกรานของแกวหรือญวนได้สำเร็จ ขุนชินทรงโสมนัสยิ่งนักจึงยกธิดาชื่อ พระนางอั๊วคำ สอนให้และสละราชสมบัติ
ปีพุทธศักราช ๒๔๕๗ ได้ยุบเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมืองแล้วใช้ตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมือง แล้วใช้ตำแหน่งนายอำเภอแทนพะเยาจึงมีฐานะเป็นอำเภอพะเยาต่อมาเมื่อวันที่๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๐  พะเยาจึงได้รับการยกฐานะจากอำเภอพะเยา ขึ้นเป็นจังหวัดพะเยา 

2. สมัยกรุงศรีอยุธยา


สมัยพระเจ้าติโลกราชครองอาณาจักรลานนาไทย (พุทธศักราช 1985-2025) แผ่อำนาจลงไปทางใต้ปราบปรามเมืองสองแคว เมืองเชลียง เมืองสุโขทัยตลอดถึงเมืองกำแพงเพชร อยู่ในอำนาจต่อมาในปีพุทธศักราช 1994 - 2030 พระยายุทิศเจียงเจ้าเมืองสองแควซึ่งสวามิภักดิ์พระเจ้าติโลกราชได้มาครองเมืองพะเยา ทรงสร้างพระเจดีย์วัดพระยาร่วง (วัดบุญนาค) ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเรียกว่า “หลวงพ่อนาค” ทรงก่อสร้างวิหารวัดป่าแดง หลวงพ่อดอนชัย และอัญเชิญพระพุทธปฏิมาแก่นจันทร์แดงจากวัดปทุมมาราม (หนองบัว) มาประดิษฐานไว้ด้วย ต่อมาพระเจ้าติโลกราชสั่งให้นำไปประดิษฐานไว้ ณ วัดอโศการาม (วัดป่าแดงหลวง) เชียงใหม่ นอกนั้นพระยายุทิศเจียงยังเอาช่างปั้นถ้วยชาม เครื่องสังคโลก อันเป็นศิลปของกรุงสุโขทัย ไปเผยแพร่การปั้นถ้วยชามสังคโลกด้วย ตั้งแต่นั้นมาเมืองภูกามยาวก็รวมอยู่กับอาณาจักรลานนาไทยมาโดยตลอด
จากหลักฐานศิลาจารึกต่างๆ ปรากฏว่าเมื่อปีพุทธศักราช 2034 พระยาเมืองยี่ครองเมืองพะยา พระยอดเชียงรายครองเมืองเชียงใหม่ กับตายายสองผัวเมียสร้างพระเจ้าตนหลวงเริ่มสร้างได้ 5 วัน พระยาเมืองยี่ถึงแก่พิราลัยต่อมาพระยอดเชียงรายก็สิ้นพระชนม์ในปีเดียวกัน

3. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

พุทธศักราช 2330 เจ้าเมืองอังวะสั่งให้หวุ่นยีมหาไชยสุระยกทัพมาทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ ผ่านฝาง เชียงราย เชียงแสน และพะเยาด้วย ผู้คนกลัวแตกตื่นอพยพไปอยู่ลำปางทำให้เมืองพะเยาร้างไปเป็นเวลาถึง 56 ปี 
พุทธศักราช 2386 พระยานครลำปางน้อยอินทร์กับพระยาอุปราชมหาวงศ์เมืองเชียงใหม่ลงไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทูลขอตั้งเมืองเชียงรายเป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม่ และตั้งเมืองงาว เมืองพะเยาเป็นเมืองขึ้นของนครลำปาง ต่อมาพระองค์ทรงโปรกเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายพุทธวงศ์ น้องคนที่ 1 ของพระยานครอินทร์เป็นพระยาประเทศอุดรทิศ ผู้ครองเมืองพะเยา ตั้งนายน้อย มหายศ และตั้งนายแก้ว มานุตตม์ น้องคนที่ 2 และ 3 เป็นพระยาอุปราชเมืองพะเยา และพระยาราชวงศ์เมืองพะเยาตามลำดับ ตั้งนายขัติยะ บุตรพระยาประเทศอุดรทิศเป็นพระยาเมืองแก้ว และตั้งนายน้อย ขัติยะ บุตรราชวงศ์หมู่ส่าเป็นพระยาราชบุตรเมืองพะเยา ผู้ครองเมืองพะเยาทุกคนจึงได้รับพระราชทานนามว่า “พระยาประเทศอุดรทิศ” แต่ประชาชนมักจะเรียกตามนามเดิม เช่นเจ้าหลวงวงศ์


-พุทธศักราช 2391 พระยาอุปราช (น้อย มหายศ) รับสัญญาบัตรขึ้นครองเมืองพะเยา จนถึงจุลศักราช 1217 (     -พุทธศักราช 2398) ก็ถึงอนิจกรรม          
-พุทธศักราช 2398 พระยาราชวงศ์เมืองพะเยา (เจ้าบุรีรัตนะหรือเจ้าแก้ว ขัติยะ) ได้รับสัญญาบัตรเป็นเจ้าเมืองพะเยา ครองเมืองได้ 6 ปี ก็ถึงอนิจกรรม
-  พุทธศักราช 2403 เจ้าหอหน้าอินทะชมภู รับสัญญาบัตรเป็นผู้ครองเมืองพะเยาได้ 11 ปี ก็ถึงแก่พิราลัยเมื่อปีพุทธศักราช 2413
-พุทธศักราช 2418 เจ้าหลวงอริยะเป็นเจ้าเมืองพะเยาถึงปีพุทธศักราช 2437 ถึงแก่อนิจกรรม เจ้าไชยวงศ์เป็นผู้ครองเมืองพะเยาต่อมาถึง 9 ปี 
-พุทธศักราช 2445 เกิดจราจลขึ้นทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ โจรผู้ลี้ภัยเงี้ยวเข้ายึดเมืองพะเยา ปล้นเอาทรัพย์สินทางราชการ ประชาชนวัดวาอาราม


ข้อมูลการเดินทาง

รถยนต์ สามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง เส้นทางที่ 1 ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ที่นครสวรรค์ ผ่านอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ตาก ผ่านอำเภอเถิน อำเภอสบปราบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง เข้าสู่ตัวเมืองพะเยา ระยะทาง 969 กิโลเมตร เส้นทางที่ 2 ใข้ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 117 จนถึงพิษณุโลก แยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 12 ไปจนถึงสุโขทัย เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 101 ผ่านอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 103 ผ่านอำเภอร้องกวาง เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านอำเภองาว เข้าสู่ตัวเมืองพะเยา ระยะทาง 782 กิโลเมตร 

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพะเยา
กว๊านพะเยา
มาพะเยามิได้เยือนกว๊าน เขาว่าท่านมาไม่ถึงพะเยา เป็นคำพูดที่ทำให้ชวนค้นหา ในภาษาเหนือ กว๊านคือ น้ำลึกหรือน้ำวน กว๊านพะเยาเป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับ ๓ ของประเทศทีเดียว รองจากบึงบอระเพ็ดและหนองหาน แต่กว๊านพะเยารั้งตำแหน่งแหล่งน้ำจืดใหญ่ที่สุดแห่งภาคเหนือตอนบน มีเนื้อที่ถึง ๑๒,๘๓๑ ไร่ แต่ก่อนน้ำแห้งในฤดูแล้งจึงทำให้เกิดเป็นสองแอ่ง กว๊านหลวงกับกว๊านน้อย ฝนตกหน้าน้ำทีไรน้ำท่วมไปทั่วบริเวณ ต่อมากรมประมงจึงสร้างทำนบกั้นลำน้ำอิงในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ จึงทำให้กว๊านพะเยาเป็นบึงธรรมชาติขนาดใหญ่ มีน้ำค่อนข้างคงที่ มีน้ำสูงขึ้น ความลึกเฉลี่ย ๑.๕ เมตร กว๊านพะเยาจึงกลายเป็นที่ตั้งสถานีประมงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของภาคเหนือ มีชื่อเสียง ประสบความสำเร็จในการผสมเทียมปลาบึกได้เป็นครั้งแรกของโลกเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๒๖

น้ำตกธารทอง                                                                              อยู่ในเขตบ้านผาตั้ง หมู่ที่ 1 ตำบลผาตั้ง การเดินทางใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 211 ผ่านบ้านไทยเจริญ แล้วต่อไปบ้านผาตั้ง บริเวณหลัก กม.ที่ 74น้ำตกธารทองจะอยู่ริมทางด้านขวา(หากมุ่งหน้าสู่จังหวัดเชียงใหม่ และอยู่ทางซ้ายมือหากมุ่งหน้าสู่จังหวัดพะเยา )
น้ำตกธารทองตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยหลวง มีเขตติดต่อของ 3 จังหวัด นั่นก็คือ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง และจังหวัดพะเยา
น้ำตกแห่งนี้เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมาก น้ำเย็นเฉียบชื่นใจ เหมาะสำหรับแวะนั่งพักผ่อนยืดเส้นยืดสายระหว่างเดินทางไกล จอดรถปุ๊บก็สามารถเล่นน้ำตกได้เลย ไม่ต้องเหนื่อยเดินไปไกลๆ เหมือนน้ำตกแห่งอื่นๆ บริเวณลานจอดรถก็จอดได้



ประวัติการศึกษา ประวัติความชำนาญในการใช้คอมพิวเตอร์ ชื่อนายพีรพงศ์ ริยาพันธ์ เลขที่ 20 ห้อง 4/4

ประวัติส่วนตัว

ชื่อนายพีรพงศ์  ริยาพันธ์
ชื่อเล่นหนึ่ง
เกิดวันพฤหัสบดี ที่16 พฤษภาคม พ..2534  ปัจจุบันอายุ22ปี
ที่อยู่61/1.2 .สินเจริญ อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี 84210
บิดาชื่อ นายพิพัฒน์  ริยาพันธ์ อายุ42ปี  อาชีพทำสวน
มารดาชื่อ นางสุพิศ  ริยาพันธ์  อายุ42ปี  อาชีพทำสวน
จำนวนพี่น้องมี2คน ตนเองเป็นลูกคนโต
อาหารโปรด คั่วซี่โครงหมู
นักร้องไทยที่ชอบ วงBODYSLAM,BIG ASS
นักร้องต่างประเทศที่ชอบ วงGOOD CHARLOTTE


ประวัติการศึกษา


เรียนอนุบาล  1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่3  ที่โรงเรียนบ้านบางรูป อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี
เรียนมัธยมศึกษาปี่ที่4   ถึง  มัธยมศึกษาปี่ที่6   จากโรงเรียนพระแสงวิทยา   จ.สุราษฎร์ธานี
เรียนระดับอุดมศึกษา เอกพลศึกษาจาก สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกระบี่ ถึงปัจจุบัน

ประวัติความชำนาญในการใช้คอมพิวเตอร์


รู้จักกับคอมพิวเตอร์ตอนประถมศึกษาปีที่6 จากการได้ไปอบรม ที่โรงเรียนอื่นโดยความชำนาญในการเล่นหรือทำงานในปัจจุบันถือว่ายังไม่มีความชำนาญเท่าที่ควร