ผู้ติดตาม

วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บทความการศึกษา เรื่องภาวะผู้นำในการบริหารการศึกษา

บทความการศึกษา เรื่องภาวะผู้นำในการบริหารการศึกษา


ประชุม  โพธิกุล
  สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา
ภาวะผู้นำ  เป็นขบวนการสร้างสิ่งเร้าขบวนการพัฒนาและการทำงานกับคนในองค์การ  เป็นขวนการมุ่งคน การมุ่งสร้างแรงจูงใจให้กับคน  การใช้มนุษย์สัมพันธ์หรือการปฏิสัมพันธ์ในองค์การการสื่อสารระหว่างบุคคล  การสร้างบรรยากาศใน
องค์การ  ความขัดแย้งระหว่างบุคคล  ความเจริญและการพัฒนานอกเหนือจากนั้นก็คือปัจจัยของมนุษย์ที่ส่งเสริมการผลิต ภาวะผู้นำจะเกิดขึ้นในการปฏิบัติการขององค์การ   เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจในจุดหมาย  การตัดสินใจเลือกทางเลือก
ใหม่  การสนับสนุนส่งเสริมการบริการการศึกษาให้มีคุณภาพมากขึ้น  การนำหลักการเปลี่ยนแปลงมาใช้ในองค์การและปัจจัยต่าง  ๆ  ซึ่งสร้างความพึงพอใจหรือบางครั้งมีผลในทางตรงกันข้าม  คือสร้างความไม่พึงพอใจของมนุษย์ในองค์การ
                                ภาวะผู้นำทางการศึกษากับผู้บริหารการศึกษาจะต้องเหมือนกัน          หมายความว่าผู้บริหารการศึกษาจะต้องมีคุณสมบัติของภาวะผู้นำนั้นเอง  การเป็นผู้บริหารสมัยใหม่ต้องการความเป็นผู้นำในการบริหารงานของตน      จึงจะกล่าวได้ว่าเป็นผู้บริหารสมัยใหม่  ทั้งนี้  เพราะผู้บริหารสมัยใหม่ตระหนักดีว่ามนุษย์มีความแตกต่างกันตามลำดับขั้นของความต้องการจำเป็น  ซึ่งต่างกับการทำงานกับเครื่องกลหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กฎเกณฑ์ตายตัวได้ในการสั่งให้เครื่องทำงาน แต่การสั่งให้มนุษย์ทำ
งานด้วยกฎเกณฑ์ที่ตายตัวอาจได้ผลมากบ้างน้อยบ้าง  หรือไม่ได้ผลเอาเสียเลยก็เป็นได้  ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องใช้ศาสตร์  คือความรู้ในเรื่องระเบียบ  ทฤษฎีต่าง  ๆ  และศิลปในการบริหารทฤษฎีจะเป็นเครื่องมือและเครื่องช่วยนำทางสำหรับผู้บริหาร  ถ้าไม่มีทฤษฎีการบริหารงานจะประสบความสำเร็จก็ด้วยเหตุบังเอิญเท่านัน  ส่วนศิลปะนั้นจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถนำเอาทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติได้  ภาวะผู้นำหมายถึงอะไร  ภาวะผู้นำมีอยู่หลายความหมาย  อาจจะเนื่องมาจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน  ประการแรก  ภาวะผู้นำมีขอบเขตกว้างขวางและเกี่ยวกับตัวแปรต่าง ๆ  มากมาย  ประการที่สอง  ภาวะผู้นำเป็นผลงานของสหวิทยากร  สหสถาบันและ
สหอาชีพ  ฉะนั้นวิธีการมองภาวะผู้นำของแต่ละวิชา  สถาบันและอาชีพจึงแตกต่างกันออกไป  ประการสุดท้าย  องค์ความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำยังถือเป็นข้อยุติไม่ได้  เรื่องจากผลการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ยังขัดแงกันอยู่มาก  แต่อย่างไรก็ตาม  จะได้นำเสนอทัศนะของนักวิชาการบางท่านเท่านั้น
                                ตามความเห็นของพีดเลอร์นั้น  ภาวะผู้นำหมายถึงความสัมพันธ์ส่วนบุคคลซึ่งมีบุคคลหนึ่งคอยอำนวยการ
ประสานงานและดูแลควบคุมคนอื่น  ๆ  ในการปฏิบัติงานร่วมกัน  ต่อมาในปี  ค.ศ.  1971  พีดเลอร์ได้ให้ความหมายที่เฉพาะเจาะจงซึ่งมองเห็นได้ในทางปฏิบัติไว้ว่า  
การที่ผู้นำมีอำนาจเหนือบุคคลอื่น  ๆ  อำนาจเหนือบุคคลอื่น  ๆ  นี้จะช่วยให้ผู้นำสามารถปฏิบัติงานซึ่งเขาไม่สามารถปฏิบัติคนเดียวได้เป็นผลสำเร็จ  อย่างไรก็ดี  อำนาจเหนือบุคคลอื่น ๆ  ของผู้นำนี้  รวมไปถึงการหามาตรการที่จะให้ผู้ตามได้ยอมรับหรืออย่างน้อยที่สุดก็เต็มใจที่จะปฏิบัติตามความประสงค์ของผู้นำอยู่ด้วย  ชมิดต์  ได้ให้ความหมายของภาวะ
ผู้นำไว้อย่างกว้าง  ๆ  ว่า  หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนคนหนึ่ง  (ผู้นำ)  กับกลุ่ม  (ผู้ตาม)  และความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้เกิดจาก
การที่ผู้นำและกลุ่มผู้ตามมีผลประโยชน์ร่วมกันและประพฤติตนเอย่างภายใต้การอำนวยการหรือการกำหนดแนวทางผู้นำ  จะเห็นได้ว่าความหมายของภาวะผู้นำของชมิดต์  มีลักษณะคล้ายคลึงกันที่ให้ไว้โดยพีดเลอร์     จากการพิจารณาดูความหมายของภาวะผู้นำที่นักวิชาการทั้งหลายที่ให้ไว้ข้างต้นนั้น  ผู้เขียนขอสรุปว่า  ภาวะผู้นำหมายถึงการที่บุคคลคนหนึ่ง  (ผู้นำ)  พยายามที่จะใช้กำลังสมอง  กำลังกายและกำลังใจเพื่อจูงใจหรือดลใจเช่นนั้น  จะต้องไม่เป็นการบังคับตลอดจนต้องได้รับความยินยอมจากผู้ตามด้วย
สิ่งที่จะพิจารณาความเป็นผู้นำ
                                1.  ผู้นำมีผู้ใต้บังคับบัญชา  ไม่ใช่ผู้บริหารทั้งหมดที่เป็นผู้นำ  ผู้บริหารมีผู้ใต้บังคับบัญชาที่ต้องให้การนิเทศ
แต่ถ้าบุคคลเหล่านี้ไม่เต็มใจยอมรับหรือปฏิบัติตามการนิเทศแสดงว่า  ผู้บริหารมิได้เป็นผู้นำ  ผู้ใต้บังคับบัญชา  อาจปฏิบัติตามเพราะเกิดความกลัวก็ได้  แต่มิใช่การปฏิบัติตามเพื่อสนองตอบภาวะผู้นำในลักษณะที่เหมือนกันนั้น  ไม่ใช่ผู้นำทุกคนที่เป็นผู้บริหาร 
ผู้นำอาจไม่ใช่ผู้บริหารก็ได้  ตัวอย่างเช่น  ผู้นำที่ไม่เป็นทางการในกลุ่มการทำงาน  เป็นผู้นำมีภาวะผู้นำแต่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร
                                2.  ผู้นำต้องเป็นผู้ตัดสินใจ  Zaleznik  ได้ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของความคาดหวังของพฤติกรรมของผู้
บริหารกับผู้นำ  ผู้บริหารถูกคาดหวังให้เป็นผู้ตัดสินใจและผู้แก้ปัญหา  บรรดาผู้บริหารทั้งหลายใช้ความคิดในการวิเคราะห์ในขบวนการที่จะนำให้เป้าหมายขององค์การประสบผลสำเร็จ  ผู้นำถูกค่าหวังว่าต้องเป็นบุคคลที่น่านับถือ  มีทรรศนะกว้างไกล จะทำให้ผู้
ร่วมงานมีความหวังและมีความคาดหวังสูง
                                3.  ผู้นำต้องรู้ใจลูกน้อย  ทั้งผู้บริหารและผู้นำต้องรู้ความต้องการขององค์การและความต้องการของสมาชิก
อย่างไรก็ตาม  ผู้บริหารต้องปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์การในขณะที่ผู้นำต้องรู้ความต้องการของสมาชิก       ผู้บริหารไม่สามารถจะเป็นผู้บริหารที่ดีได้  ถ้าไม่ทราบเป้าหมายขององค์การ  ผู้นำก็ไม่สามารถเป็นผู้นำที่ดีได้ถ้าไม่ทราบความต้องการและ
ความพึงพอใจของสมาชิกของตนเองได้

แบบจำลองขบวนการภาวะผู้นำ

                                ภาวะผู้นำเป็นภาวะการทางสังคมที่สลับซับซ้อน  ซึ่งมีผลกระทบต่อบุคคลและปัจจัยต่าง ๆ  ในองค์การรวมถึงสิ่งต่อไปนี้
                                1.  คุณลักษณะต่าง  ๆ  ส่วนบุคคลของผู้นำ
                                2.  พฤติกรรมของผู้นำ
                                3.  ปัจจัยสถานะการณ์ต่าง  ๆ  เช่น  ผู้ใต้บังคับบัญชา  งานและการปฏิบัติงานในองค์การ
                                แบบจำลองขบวนการภาวะผู้นำในภาพนี้ชี้ให้เห็นปัจจัยต่าง  ๆ  ซึ่งส่งผลให้ภาวะผู้นำมีประสิทธิภาพ  ซึ่งได
้อธิบายว่าขบวนการต่าง  ๆ  ซึ่งมีคุณลักษณะต่าง ๆ  ส่วนตัวของผู้นำและปัจจัยต่าง  ๆ  ในสิ่งแวดล้อม  ซึ่งมีผลกระทบต่อการเลือกพฤติกรรมผู้นำ  อิทธิผลต่าง  ๆ  ของกลุ่มสมาชิกในการปฏิบัติงานที่ทำให้ผู้นำมีประสิทธิภาพ  แบบจำลองประกอบด้วยสิ่งต่าง  ๆ  ดังต่อไปนี้

แบบจำลองของภาวะผู้นำแปรเปลี่ยนไปตามปัจจัยต่อไปนี้
                                1.  คุณลักษณะส่วนบุคคล  (Personal  trait)  ผู้บริหารมีคุณลักษณะเฉพาะ  ทัศนคติแรงจูงใจและบุคลิก
ภาพ  คุณลักษณะเหล่านี้มีอิทธิผลต่อพฤติกรรม  ต่อผู้นำ  ตัวอย่าง  ผู้บริหารผู้ที่เชื่อมั่นบุคคลอื่นย่อมปรึกษาหารือกับผู้ใต้บังคับ
บัญชามากกว่าผู้บริหารที่ไม่เชื่อมั่นผู้ใต้บังคับบัญชา
                                2.  พฤติกรรมผู้นำ  (Leader  Behavior)  ผู้บริหารจะแสดงรูปแบบพฤติกรรมในการบริหารบุคคล 
พฤติกรรมผู้นำเหล่านี้เป็นปฏิกริยาจากคุณลักษณะส่วนบุคคลของเขา  และความต้องการของสถานการณ์  พฤติกรรมต่าง ๆ  เหล่านี้ก็คือ
                                                2.1  การสั่งการ
                                                2.2  การสนับสนุน
                                                2.3  การมีส่วนร่วม
                                                2.4  พฤติกรรมมุ่งผลสัมฤทธิ์
                                3.  ปัจจัยสถานการณ์  (Situation  Factors)  ผู้บริหารไม่ได้ทำงานอยู่ในสุญญากาศ  สิ่งแวดล้อมมีอิทธิผล
ต่อพฤติกรรมของเขา  ปัจจัยสถานการณ์  ปัจจัยต่าง  ๆ  ที่สำคัญของสถานการณ์
                                                3.1  กลุ่มงาน
                                                3.2  สมาชิกของกลุ่ม
                                                3.3  การปฏิบัติงานในองค์การ  เป็นอำนาจที่เป็นทางการที่เป็นที่ยอมรับ
                                4.  ความกลมกลืนของภาวะผู้นำ  (Leadership  match)  เมื่อผู้บริหารได้ทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
เหมือนผู้นำ  ผู้บริหารจำเป็นต้องใช้พฤติกรรมผู้นำ ซึ่งเหมาะสมกับคุณลักษณะประจำตัวของเขาและความต้องการตามสถานการณ์  ถ้าไม่กลมกลืนกันก็ย่อมไม่มีประสิทธิภาพ  ภาวะผู้นำจะกลมกลืนกันจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ
                                                4.1  เลือกสถานการณ์ของภาวะผู้นำซึ่งเหมาะสมกับคุณลักษณะส่วนตัวของผู้บริหารและพฤติกรรมของผู้นำ
                                                4.2  ปรับปัจจัยต่าง  ๆ  ของสถานการณ์ให้เหมาะสมกับผู้บริหาร  คุณลักษณะประจำตัวและพฤติกรรมของผู้บริหาร
                                                4.3  เพิ่มแบบภาวะผู้นำให้มากให้กลมกลืนกับสถานการณ์ที่แปรเปลี่ยนไป
                                5.  ประสิทธิผลของภาวะผู้นำ  ประสิทธิผลของภาวะผู้นำอาจวัดได้โดยดูระดับซึ่งผู้บริหารบรรลุถึงเป้าประสงค์ขององค์การและผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับการสนองตอบความต้องการ
                                รูปแบบจำลองนี้เป็นมโนทัศน์ของขบวนการผู้นำในองค์การและเป็นการพิจารณาถึงประสิทธิผลของภาวะผู้นำหลายทฤษฎี  ภาวะผู้นำได้มีตัวแปรเปลี่ยนไป  ตัวอย่างเช่น  ทฤษฎีคุณลักษณะของผู้นำสัมพันธ์กับคุณลักษณะของบุคคลที่เป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพทฤษฎีสถานการณ์ศึกษาคุณลักษณะของบุคคล  พฤติกรรมของผู้นำและปัจจัยสถานการณ์